Long Live The King
ข้าพเจ้าไม่ได้มีพรสวรรค์พิเศษอะไร ข้าพเจ้าเพียงแต่มีความกระหายใคร่รู้อยู่เสมอ ทุ่มเทให้กับสิ่งที่อยากรู้ พากเพียรอย่างทรหด และสำรวจวิจารณ์ความรู้ของตัวเองเป็นประจำ ปัจจัยเหล่านี้คือที่มาของแนวคิดต่างๆ ของข้าพเจ้า .... อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์

วันอังคารที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

"สวัสดีชาวโลก" กับ OOP PHP



หลังจากที่หายไปนาน ในที่สุดผมก็ปรับปรุงเว็บใหม่เสร็จ แต่อาจจะยังไม่เรียบร้อยเท่าไหร่ ไม่เป็นไรปรับปรุงกันไป เรื่อยๆก็แล้วกัน ขอออกตัวก่อนว่าผมไม่ได้เก่ง ผมยังเรียนอยู่เลย ผมเพียงแต่บันทึก ร่องรอยการเรียนรู้ของผม ที่อาจเป็นประโยชน์สำหรับท่าน ผู้เดินทางด้วยกันเท่านั้น บทความที่ผมเขียนจะไม่มีหลักในทางวิชาการใดๆทั้งสิ้น ผมเน้นในเรื่องของการปฏิบัติ อย่างเดียว เขียนแบบนี้แล้ว จะเกิดผลอย่างนี้ จากนั้นก็นำไปใช้งานจริง เอ้า! มาว่าเรื่อง OOP PHP กันต่อ...

คำหลักๆ ที่เราจะได้รู้จักก็มี  class, function, this และ parent

 เราจะเริ่มด้วยการสร้าง  class ขึ้นมาก่อน
 จากนั้นก็สร้าง function เรียกแบบ oop ว่า Method แต่ผมขอเรียกว่าฟังก์ชั่นก็แล้วกัน
 ผมจะตั้งชื่อ class นี้ว่า Human รูปแบบของ class Human จะเป็นแบบนี้
<?php
 class Human {
     
 }
 ?>
จากนั้น ผมก็จะสร้าง function talk() ไว้ภายใน class แบบนี้
<?php
 class Human {
     function talk(){
         echo "Hello World";
     }
 }
?>
ตอนนี้เราไม่สามารถจะเรียกใช้งาน function talk() ได้ จนกว่าเราจะประกาศเสียก่อนว่า ใครคือ Human
ผมขออธิบายแบบง่ายๆ ไม่ว่า ใครหรือสิ่งใดก็ตามเมื่อถูกประกาศว่าเป็น Human
ก็สามาถใช้งาน function talk() ได้ทั้งนั้น
วิธีการประกาศ ผมจะประกาศว่า นาย $bookneo เป็น Human รูปแบบ
$bookneo = new Human();

นาย $bookneo ก็สามารถเรียกใช้งาน function talk() ได้ดังนี้
$bookneo->talk();

รูปแบบเต็ม
<?php
 class Human {
     function talk(){
         echo "Hello World";
     }
 }

$bookneo = new Human();
$bookneo->talk();

?>


ใน class Human เราจะเพิ่ม function กี่ฟังก์ชั่น ก็ได้ เวลาเรียกใช้ เราก็ประกาศ Human แค่ครั้งเดียว
ตัวอย่าง
<?php

class Human {

    function talk() {
        echo "Hello World";
    }

    function name() {
        echo " <font color='blue'>My name is bookneo</font>";
    }

}

$bookneo = new Human();
$bookneo->talk();
$bookneo->name();

?>



สำหรับบทความนี้ก็ขอจบเพียงเท่านี้ก่อน ไว้เจอกันในบทความต่อไปครับ....



Read More

© Bookneo, AllRightsReserved.

ขับเคลื่อนโดย Blogger Designed by Nikhorn Thongchuay