การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ (อังกฤษ: Object-oriented programming, OOP) คือหนึ่งในรูปแบบการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ให้ความสำคัญกับ วัตถุ ซึ่งสามารถนำมาประกอบกันและนำมาทำงานรวมกันได้ โดยการแลกเปลี่ยนข่าวสารเพื่อนำมาประมวลผลและส่งข่าวสารที่ได้ไปให้ วัตถุ อื่นๆที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ทำงานต่อไป....
Object Oriented Programming หรือ OOP หรือ การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ หมายถึง การเขียนโปรแกรมโดยการมองว่าโปรแกรมใดๆเป็นวัตถุชนิดหนึ่ง ที่ประกอบไปด้วย คุณสมบัติ(property) และ วิธีการ(method)
เช่น คลาสรถ ประกอบด้วย คุณสมบัติ สี จำนวนล้อ และ วิธีการ เช่น วิธีขับ วิธีจอด เป็นต้น นอกจากนี้ OOP ที่ดี ยังต้องมีคุณสมบัติการสืบทอด(inherited) เช่น คลาสรถยนต์ สืบทอดมาจากคลาสรถ และ คลาสรถมอเตอร์ไซต์ ก็สืบทอดมาจากคลาสรถเช่นเดียวกัน แต่ทั้ง 2 คลาส(ซึ่งเรียกว่าคลาสลูก หรือ sub class) ก็อาจมีคุณสมบัติบางอย่างที่แตกต่างจาก คลาสรถ(คลาสแม่ หรือ base class) เช่น คลาสรถยนต์ มี 4 ล้อ และ คลาสรถมอเตอร์ไซต์ มี 2 ล้อ เป็นต้นโปรแกรมเชิงวัตถุOOP ช่วยให้เขียนโปรแกรมได้อย่างสง่างาม ตรวจสอบได้ง่าย สามารถนำโค้ดที่เขียนไว้ กลับมาใช้ใหม่ได้
โดยทั่วไปแล้วสำหรับโปรแกรมเมอร์ทั่วไปที่รู้จักภาษา PHP มักจะไม่เขียนโปรแกรมของตน เป็นรูปแบบ OOP แต่หากรู้ว่าการเขียนโปรแกรมแบบ OOP สามารถช่วยทำให้สามารถ เพิ่มประสิทธิภาพของโปรแกรมของตนอย่างไรล่ะก็ เราทุกคนคงคิดที่จะเปลี่ยนมาเขียนเป็น OOP แน่นอน
ในพื้นฐานของการเขียนและออกแบบโปรแกรม โปรแกรมเมอร์ทุกคนรู้ดีว่า วิธีการที่จะเขียนโปรแกรม ให้สามารถแก้ไข และ ทำงานอย่างเป็นระบบ และรวดเร็ว คือการเขียนโปรแกรมแบบ Object-Oriented Programing (OOP) หรือ การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ ซึ่งมีประโยชน์ต่างๆ เช่น การเขียนโปรแกรมครั้งเดียวแต่ใช้ซ้ำหลาย ๆ รอบ, การทดสอบระบบ, การแก้ไขโค้ดโปรแกรมที่ตรงจุด ซึ่งหากว่าเรา เคยเขียนโปรแกรมที่เป็นภาษา OOP อื่นๆ เช่น C++, Object Pascal (Borland Delphi), Visual Basic .Net ก็สามารถนำมาใช้กับการเขียนโปรแกรม OOP ใน PHP ได้เหมือนๆ กัน
หากลองคิดดูว่า เราเป็นโปรแกรมเมอร์ ที่ต้องนั่งเขียนโปรแกรมกว่าสิบๆ โปรแกรม โดยมีพื้นฐานคล้ายๆ เช่น การติดต่อฐานข้อมูล, การจัดเก็บระบบสมาชิค, การติดต่อปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้ (Webboard, Forum) แบบเดียวกัน แต่มีระบบย่อยๆ ต่างกัน นั่นอาจทำให้เราเขียนโค้ดแล้วเกิดอาการสับสนขึ้นได้ เช่น หน้าแรกเรียกฐานข้อมูลดึงหาข้อมูลสมาชิค เขียนโค้ด 10 บรรทัด, หน้าสมาชิค เขียนโค้ดดึงข้อมูลสมาชิคอีก 10 บรรทัด และเป็นอยากนี้อีกหลายๆ หน้า นั้นคือ "การเขียนโค้ดซ้ำโดยไม่จำเป็น" หากเรานำ OOP มาประยุกต์ใช้ จะทำให้เราสามารถลดการเขียนโปรแกรม จาก 10 บรรทักในแต่ล่ะหน้า เหลือเพียงบรรทัดเดียว และเก็บโค้ดที่เหมือนๆ กันในไฟล์ๆ หนึ่ง ที่จะนำมาเรียกใช้ภายหลัง และเมื่อเก็บความผิดพลาด เราก็แก้แค่เพียงจุดเดียว แล้วทุกๆ หน้าก็จะแก้ไปเหมือนๆ กัน
มาจนถึงจุดนี้เราคงรู้แล้วว่า การเขียน OOP จะช่วยเรา ในการเขียนโปรแกรมได้อย่างไรแล้วนะครับ
แห่ง http://phpsec.exteen.com
phpsec
- การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ นั้นมีความปลอดภัยสูง ปลอดภัยจากอะไร ก็ปลอดภัยจากผลกระทบของการแก้ไข เพิ่มเติม เปลี่ยนแปลงโค้ด โปรแกรมของเราในภายหลังได้
- ช่วยให้เราสามารถทำงานเป็นทีมได้ง่ายขึ้น
- ช่วยให้เราไปเรียนรู้ต่อยอด เกี่ยวกับ php framework เช่น Zend, Cakephp, Codeigniter อื่นๆ ได้ง่ายขึ้น
- ช่วยให้เราไม่ต้องเขียนโค้ดซ้ำๆ เดิมๆ ทุกครั้ง ให้เพื่อนเอาไปใช้ก็ได้ หรือเอาของเพื่อนมาใช้ก็ได้ อันนี้ดีมาก อิอิ..
แค่นี้ก่อน ไว้บทความหน้า ไปภาคปฏิบัติกันครับ...